โวหาร
ความหมายของโวหาร
โวหาร คือ ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารด้วยการเรียบเรียงอย่างมีวิธีการ มีชั้นเชิง
และมีศิลปะเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราว เกิดจินตภาพ
และความรู้สึกตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ
ประเภทของโวหาร
โวหาร มี ๕ ประเภท ได้แก่ บรรยายโวหาร อธิบายโวหาร
เทศนาโวหาร สาธกโวหาร และพรรณนาโวหาร
บรรยายโวหาร
คือ โวหารเล่าเรื่องซึ่งเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน
โดยชี้ให้เห็นถึงสถานที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม
บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น
เนื้อเรื่องที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ ตัวอย่างเรื่องที่ใช้บรรยายโวหาร เช่น นิทาน
ประวัติหรือตำนานของบุคคลหรือสถานที่ และการเล่าเรื่อง
อธิบายโวหาร
คือ โวหารที่ทำให้ความคิดเรื่องหนึ่งกระจ่างชัดเจนขึ้น
โดยมีจุดประสงค์จะนำประเด็นที่สงสัยมาอธิบายให้แจ่มแจ้ง ชัดเจน ถูกต้อง
ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ
การอธิบายทำได้หลายวิธี
คือ
-
การอธิบายตามลำดับขั้น
เช่น การออกกำลังกาย การทำอาหาร กระบวนการผลิต เป็นต้น
-
การอธิบายด้วยการให้คำนิยามหรือคำจำกัดความ
เช่น การอธิบายความหมายคำศัพท์ หรือนิยามต่างๆ
-
การอธิบายด้วยวิธีการเปรียบเทียบ
เป็นการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของสิ่งที่คุ้นเคยกับสิ่งอื่นๆ
-
การอธิบายด้วยวิธีการยกตัวอย่าง
-
การอธิบายด้วยการชี้สาเหตุหรือผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน
(เหตุอย่างนี้ ผลอย่างไร)
เทศนาโวหาร
คือ โวหารที่กล่าวชักจูงผู้อื่นให้มีความเห็นคล้อยตาม
ให้เชื่อถือและให้ปฏิบัติตาม การเขียนโวหารนี้ต้องอาศัยเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง
ตลอดจนหยิบยกคติธรรม และสัจธรรมมาเป็นอุทาหรณ์ มักใช้อธิบายหลักธรรม โวหาร
คำแนะนำสั่งสอน และคำชี้แจงเหตุผลต่างๆ
สาธกโวหาร
คือ โวหารที่ยกตัวอย่างหรือยกเรื่องราวมาประกอบเนื้อเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างหรือเรื่องราวที่ยกมาอาจเกี่ยวกับบุคคล เหตุการณ์หรือเป็นนิทานก็ได้ ข้อความที่เป็นสาธกโวหารนี้ต้องปรากฏร่วมกับโวหารชนิดอื่น
เช่น เทศนาโวหาร หรืออธิบายโวหาร
พรรณนาโวหาร
คือ โวหารที่กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ
หรืออารมณ์อย่างละเอียด และอาจสอดแทรกความรู้สึกของผู้เขียนลงไปด้วย
เพื่อให้ผู้เขียนเกิดจินตภาพ หรือเกิดอารมณ์คล้อยตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น